โครงสร้างและบทบาท



กองวิจัยและพัฒนาข้าว ประกอบไปด้วยการรวมกลุ่มในการทำงาน (Cluster) สนับสนุนให้เกิดการทำงานเป็นเครือข่าย (Network) ใน 5 กลุ่มศูนย์วิจัยข้าว ได้แก่ กลุ่มศูนย์ภาคเหนือตอนบน (5 ศูนย์) กลุ่มศูนย์ภาคเหนือตอนล่าง (3 ศูนย์) กลุ่มศูนย์ภาคกลาง ภาคตะวันออก และตะวันตก (7 ศูนย์) กลุ่มศูนย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (8 ศูนย์) และกลุ่มศูนย์วิจัยภาคใต้ (4 ศูนย์) แต่ละกลุ่มศูนย์ได้กำหนดกลุ่มงานเพื่อให้มีความชัดเจนเพื่อมุ่งงานด้านต่างๆ 6 กลุ่มงาน (6 Disciplinary Groups) ได้แก่กลุ่มพืชศาสตร์ กลุ่มเทคโนโลยีการผลิต กลุ่มเทคโนโลยีการอารักขา กลุ่มเมล็ดพันธุ์และวิทยาการเมล็ดพันธุ์ กลุ่มวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตภัณฑ์ และกลุ่มถ่ายทอดเทคโนโลยี ในแต่ละกลุ่มศูนย์กำหนดให้รวมส่วนความร่วมมือ (Sharing) ในด้านบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน การใช้โครงสร้างพื้นฐานและอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน

กองวิจัยและพัฒนาข้าว กับเครือข่ายการทำงานวิจัย 28 ศูนย์วิจัยข้าว ใน 7 กลุ่มคลัสเตอร์ ของเรา




กองวิจัยและพัฒนาข้าวในส่วนกลาง 
ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการบริหาร (Center) ทำหน้าที่ขับเคลื่อนนโยบาย และแปลงแผนยุทธศาสตร์ สู่แผนปฏิบัติการ โดยมีศูนย์วิจัยข้าวเป็นเครือข่ายการปฏิบัติการ (Networking ภาพที่ 1) ภายในกลุ่มศูนย์มีการรวมส่วนความร่วมมือ (Sharing) ด้านต่างๆ เข้าด้วยกัน เช่น บุคลากร ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน โครงสร้างพื้นฐาน อุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน และงบประมาณ
ศูนย์วิจัยข้าวและกลุ่มศูนย์
ด้วยศูนย์วิจัยข้าว 28 แห่ง มีความแตกต่างกันในด้านความพร้อมทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) วัสดุอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อรองรับการทำงาน เช่นอาคารปฏิบัติการ และบุคลากร ซึ่งในด้านบุคลากรมีความแตกต่างกันทั้งจำนวน และความรอบรู้ในแต่ละสาขาวิชา จึงกำหนดให้มีกลุ่มศูนย์ต่างๆ ขึ้นโดยจุดมุ่งหมายเพื่อให้มีลักษณะในการทำงานแบบ Cluster กล่าวคือให้แต่ละ Clusterสามารถใช้บุคลากรและสิ่งต่างๆ ร่วมกัน ทำให้เกิดการบูรณาการการทำงานแบบเป็นเครือข่าย (Network)
กลุ่มศูนย์วิจัยข้าวออกเป็น 7 กลุ่มศูนย์ (7 Clusters) ในภูมิภาคต่างๆ คือ
1) กลุ่มศูนย์ภาคเหนือตอนบน เครือข่ายประกอบด้วย 5 ศูนย์ คือ ศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่ เชียงราย แพร่ สะเมิง และแม่ฮ่องสอน มีส่วนปฏิบัติการกลาง (Lab) อยู่ที่ศูนย์วิจัยข้าวแพร่
2) กลุ่มศูนย์ภาคเหนือตอนล่าง เครือข่ายประกอบด้วย 3 ศูนย์ คือ ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ชัยนาท ลพบุรี มีส่วนปฏิบัติการกลาง อยู่ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก
3) กลุ่มศูนย์ภาคกลาง 
เครือข่ายประกอบด้วย 4 ศูนย์ คือ ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี คลองหลวง  สุพรรณบุรีและราชบุรี
4) กลุ่มศูนย์ภาคตะวันออก เครือข่ายประกอบด้วย 3 ศูนย์ คือ 
ศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา และพระนครศรีอยุธยา
5) กลุ่มศูนย์วิจัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เครือข่ายประกอบด้วย 5 ศูนย์ คือ 
ศูนย์วิจัยข้าวขอนแก่น ชุมแพ อุดรธานี หนองคาย สกลนคร6) กลุ่มศูนย์วิจัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง เครือข่ายประกอบด้วย 4 ศูนย์ คือ ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี สุรินทร์ นครราชสีมา และร้อยเอ็ด
7) กลุ่มศูนย์วิจัยภาคใต้ เครือข่ายประกอบด้วย 4 ศูนย์ คือ ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง นครศรีธรรมราช ปัตตานี และกระบี่ มีส่วนปฏิบัติการกลางอยู่ที่ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง
ในภาพรวมของการบริหารจัดการของสำนักวิจัยและพัฒนาข้าว จะมีกองวิจัยและพัฒนาข้าวในส่วนกลาง ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการบริหาร (Center) ทำหน้าที่ขับเคลื่อนนโยบาย และแปลงแผนยุทธศาสตร์ สู่แผนปฏิบัติการ โดยมีศูนย์วิจัยข้าวเป็นเครือข่ายการปฏิบัติการ (Networkingภาพที่ 1) ภายในกลุ่มศูนย์มีการรวมส่วนความร่วมมือ (Sharing) ด้านต่างๆ เข้าด้วยกัน เช่น บุคลากร ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน โครงสร้างพื้นฐาน อุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน และงบประมาณ
ภาพที่ องค์ประกอบของการบริหารจัดการของสำนักวิจัยและพัฒนาข้าว ในลักษณะของการเป็นศูนย์กลางและเครือข่ายการทำงาน (Center and networking) กองวิจัยและพัฒนาข้าวในส่วนกลางเป็นศูนย์กลางการดำเนินงาน ทำหน้าที่ด้านการบริหารจัดการ ในการนำนโยบายและยุทธศาสตร์แปลงเป็นแผนปฏิบัติการ โดยมีศูนย์วิจัยข้าว 27 ศูนย์ซึ่งรวมกลุ่มเป็น 5 กลุ่มศูนย์ เป็นส่วนปฏิบัติการในการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการให้บรรลุผลตามเป้าประสงค์

กลุ่มศูนย์
ความจำเพาะและนิเวศน์หลัก
มิติงานหลัก
ตามนิเวศน์
เป้าหมายหลัก
ของผลิตภาพ
งานมุ่งเน้น
เฉพาะหลัก
1. ภาคเหนือตอนบน
พื้นที่ภูเขา
เขตอาศัยน้ำฝน
ข้าวนาที่สูง ข้าวไร่ที่สูง ธัญพืชเมืองหนาว
-ข้าวในพื้นที่ชายขอบ-ข้าวเพื่อความมั่นคงด้านอาหารของชนเผ่า
-ข้าวเพื่อการบริโภค
งานตามโครงการพระราชดำริ
2. ภาคเหนือตอนล่าง
พื้นที่ราบลุ่ม เขตชลประทานและเขตอาศัยน้ำฝน
ข้าวนาชลประทานข้าวนาน้ำฝน
-ข้าวขาวเพื่อการบริโภคและส่งออก

การผลิตในเขตภาคเหนือตอนล่าง

3. ภาคกลาง ออก และตก
พื้นที่ราบลุ่ม แหล่งผลิตข้าวหลักของประเทศในเขตชลประทาน
ข้าวนาชประทาน มีศักยภาพในการผลิตสูง ข้าวในพื้นที่น้ำลึก
-ข้าวเพื่อการบริโภค-ข้าวขาวเพื่อการส่งออก
-ข้าวเพื่อการแปรรูป

ศูนย์กลางของงานด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์

4. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พื้นที่ราบสูง เขตอาศัยน้ำฝน การผลิตมีข้อจำกัดจากด้านกายภาพและชีวภาพ
ข้าวนาอาศัยน้ำฝนการคงเสถียรภาพในการผลิตในสภาพแวดล้อมที่มีความหลากหลาย
-ข้าวเพื่อการบริโภค
- ข้าวคุณภาพเพื่อการส่งออก
-ข้าวอินทรีย์และตลาดเฉพาะ
ศูนย์กลางของงานและ Lab ด้านไบโอเทค

5. ภาคใต้
พื้นที่ราบลุ่มถึงสภาพไร่ เขตอาศัยน้ำฝน
ข้าวพื้นเมืองเพื่อการบริโภคในพื้นที่ ข้าวร่วมระบบกับพืชหลัก
-ข้าวเพื่อการผลิตให้พอเพียงต่อการบริโภคในพื้นที่
-ข้าวเพื่อจิตวิทยามวลชลและความมั่นคง
ข้าวพื้นเมืองบนความหลากหลายของสภาพแวดล้อม



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น